Tuesday, February 07, 2012

ยาลดไขมัน...เรื่องที่ต้องพิถีพิถัน

 เมื่อ สัปดาห์ก่อน ภรรยาของผู้ป่วยผมคนหนึ่งมาพบผมที่โรงพยาบาล และเล่าอาการผิดปกติเกี่ยวกับสามีของเธอ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบให้ฟังว่า สังเกตเห็นสามี ซึ่งต้องรับประทานยาอยู่หลายชนิด ปัสสาวะออกมามีสีเข้ม จึงสงสัยว่า จะเกิดจากยาลดไขมันกลุ่มสเตติน (statin) ซึ่งเป็นหนึ่งในยาหลายๆ ตัวที่สามีรับประทานอยู่ โดยวิตกว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร
     ผมจึงถือโอกาสนำกรณีศึกษานี้มาเล่าสู่กันฟังกับท่านผู้อ่าน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจ

      อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ความเสี่ยงหลักหรือสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันคอเลสเตอรอล เพราะเมื่อไขมันชนิดนี้มีปริมาณมากเกินไปก็จะไปเกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือดของ เรา ทำให้เส้นเลือดมีขนาดเล็กและแคบลง เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก และก่อให้เกิดอาการของโรคหัวใจตามมา ซึ่ง หนึ่งในแนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบก็คือการลดระดับไขมันคอเลสเตอร อลให้อยู่ในระดับปกติ หรือต่ำเท่าที่จะต่ำได้ ซึ่งนอกจากจะต้องระวังเรื่องการรับประทานอาหารแล้ว การใช้ยาลดไขมันกลุ่มสเตตินก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะควบคุมรักษาระดับไขมันคอ เลสเตอรอลในเลือดได้

      ยาลดไขมันกลุ่มสเตตินถูกค้นพบโดยแพทย์ชาวญี่ปุ่นเมื่อประมาณเกือบ 30 ปีมาแล้ว โดยสกัดยาตัวนี้ได้จากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลในการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้ดีมากทีเดียว และปัจจุบันก็มียาในกลุ่มนี้วางขายในท้องตลาดด้วยชื่อทางการค้าที่แตกต่าง กันมากมาย

      นอกจากจะให้ผลในการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลแล้ว ในปัจจุบันยังมีข้อมูลจากการวิจัยและหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า ยาลดไขมันกลุ่มสเตตินยังมีผลในการช่วยซ่อมแซมหลอดเลือดให้มีความแข็งแรงและ ยืดหยุ่นตัวได้ดี ซึ่งจะช่วยลดอาการกำเริบของโรคหัวใจได้

      ถึงแม้ยาลดไขมันกลุ่มสเตตินจะมีคุณสมบัติวิเศษดังที่กล่าวเอาไว้ แต่ท่านผู้อ่านก็ยังคงต้องใช้ยาชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ได้เช่น กัน เป็นต้นว่า

      1. ตับอักเสบ พบว่ายาลดไขมันกลุ่มสเตตินนี้อาจทำให้ผลเลือดเอนไซม์ของตับเพิ่มสูงขึ้นเล็ก น้อยจนถึงสูงมากจนทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้ ดังนั้นเมื่อรับประทานยากลุ่มนี้ไปช่วงเวลาหนึ่ง ก็ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูผลกระทบที่อาจจะมีต่อตับได้

      2.อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ/กล้ามเนื้อสลายตัว เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ้าง โดยผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้อาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเล็กน้อยได้บ้าง ในช่วงแรกของการรับประทานยา โดยกล้ามเนื้อน่องจะเป็นตำแหน่งที่พบอาการปวดได้บ่อยที่สุด แต่หากผลข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อนี้มีความรุนแรงมาก ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อตายและเกิดการสลายตัวได้(Rhabdomyolysis) ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่มีอันตรายมาก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยมาก ปัสสาวะสีเข้มคล้ายน้ำปลา (ซึ่งทำให้ภรรยาของผู้ป่วยผมเกิดความวิตก) และอาจถึงขั้นไตวายเฉียบพลันได้

      สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ท่านผู้อ่านควรทราบเกี่ยวกับการใช้ยาลดไขมัน กลุ่มสเตตินก็คือ ยานี้ควรรับประทานในช่วงเวลาเย็นหรือกลางคืน โดยอาจจะรับประทานยานี้หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอนไปเลยก็ได้ เหตุผลที่ต้องรับประทานยาในช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นเพราะว่า กระบวนการการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายของเราจะเกิดขึ้นมากที่สุด ในช่วงเวลากลางคืน ถ้าเรารับประทานยาในช่วงเวลาดังกล่าวย่อมสามารถยับยั้งการสังเคราะห์ไขมัน ได้ดีที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้มากที่สุดเช่นกัน

      การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีใช้ที่ถูก ต้อง รู้ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รู้ถึงผลดีผลเสียของตัวยา และที่สำคัญที่สุด จะต้องใส่ใจและพิถีพิถันในการรับประทานยาเพื่อให้ได้ผลดีในการรักษาโรคมาก ที่สุดโดยที่มีผลเสียหรือภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเกิดขึ้นน้อยที่สุด

     ภรรยาผู้ป่วยของผมรายนี้ บอกว่า เธอจะช่วยดูแลจัดยาและดูแลการรับประทานยาของสามีไม่ให้ผิดพลาด และจะชวนสามีมาตรวจร่างกายให้แน่นอนอีกครั้ง


No comments:

Post a Comment